คลิปสัมภาษณ์

วัดพนัญเชิงวรวิหาร 
 อารามหลวงชั้นโทในพระนครศรีอยุธยา

https://www.youtube.com/watch?v=ZuPo_HNRmKo&feature=youtu.be

สัมภาษณ์พระครูสุธีกิจจาภรณ์
Q: ประวัติความเป็นมาของวัดพนัญเชิง
A: เกิดจากเจ้าชายสายน้ำผึ้งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวจีน กษัตริย์จีนเขาก็เห็นบุญญาธิการเขาก็เลยยกพระนางสร้อยดอกหมากถวาย ทีนี้เมื่อเสด็จกลับมาถึงแล้ว รวบรัดตัดความว่ามาถึงอยุธยาแล้ว ตรงวังน้ำวน ทีนี้พระองค์ไปช้า มาช้า(หัวเราะ) ตอนมาก็ไม่ได้มาด้วยพระองค์เองตอนมาถึงเชิญพระราชกิมาตอนนั้น เสร็จแล้ว มันก็เลยเป็นสาเหตุให้พระนางทรงเสียพระทัย ทรงเข้าพระทัยผิด แล้วก็เสียพระทัยว่าไม่ให้เกียรติพระองค์ เมื่อไม่มารับเองก็ไม่ขึ้น พระนางก็เลยกลั้นตาย ทีนี้เจ้าชายสายน้ำผึ้งเห็นแบบนี้แล้วก็เกิดความประทับใจ สร้างวัดพนัญเชิงขึ้นเป็นอนุสรณ์สถาน
Q: จุดเด่นของวัดพนัญเชิง
A: จุดเด่นของวัด แลนด์มาร์คของวัดก็คือ องค์หลวงพ่อโตถ้าใครมาอยุธยาหรือชาวอยุธยาบอกไม่รู้จักองค์หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง มันก็ไม่ใช่
Q: แรงศรัทธาในการสร้างหลวงพ่อโต(ซำปอกง)
A: หลวงพ่อโตก็มีการสร้าง มีวัดก็ต้องมีพระใช่ไหม ทีนี้ว่าคนที่เขาเป็นพ่อค้าวานิตย์ เขามาถึงก็ให้ความเคารพกราบไหว้องค์หลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพระซำปอกง ซำปอกงแปลตรงๆก็คือหลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่อโต เสร็จแล้วมา เขาก็จะยกมือกราบไหว้กัน แล้วก็จุดธูป จุดเทียน ไม่ต้องขึ้นฝั่ง เขาก็ทำมาค้าขายกันได้ดี ขายกันได้หมด บ้างก็ไม่มีอะไร มีแต่มือก็เอาน้ำกวักหัวเรือ เพื่อความสิริมงคล เสร็จแล้วก็เลยเกิดการว่าที่ตรงนี้ วัดพนัญเชิงเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธ์ เขาก็เลยรวมตัวกันสร้างองค์หลวงพ่อขึ้นมาให้ใหญ่
Q: กิจกรรมของวัดพนัญเชิง
A: มีกิจกรรมก็คือพอถึงเดือนเก้า เป็นเดือนที่เขาเรียกเดือนสารทกับเดือนสิบ ก็คือเดือนเก้าจีนเดือนสิบไทย เขาเชื่อกันว่าเป็นเดือนสารท สารสารทมันเป็นเดือนที่ยมโลกเขาปล่อยพวกภูตผีปีศาจ พวกที่ต้องตกนรกหมกไหม้ให้มาพบญาติ อุทิศส่วนกุศล อันนี้คติในทางพุทธศาสนา ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็ทำบุญ พวกพ่อค้าเขาก็มารวมตัวกันทำบุญในเดือนเก้ากัน พอทำบุญกันเสร็จ ข้าวของมันเหลือ เขาก็ทำไง พอจะแจกคนนู้นมันไม่เพียงพอกัน เขาก็เลยกลายเป็นว่าเทกระจาด พวกส้มสุกลูกไม้ พ่อค้ามีหลายอย่างใช่ไหม มีส้มอะไรต่ออะไรก็มาเทกระจาด ก็กกลายเป็นประเพณีเทกระจาดขึ้นมาในยุคหนึ่ง พวกพ่อค้าเขากะทำการบริหาร จัดการกันเอง หนึ่งปีเขาก็มาทบุญๆกัน อย่างองค์หลวงพ่อโต ก็จะเป็นที่ๆเคารพนับถือของไม่ใช่ชาวไทยอย่างเดียวนะ ชาวต่างประเทศ
Q: พิธีห่มผ้าหลวงพ่อโต
A: หลวงพ่อองค์ใหญ่ ผ้าใช้ประมาณ 25 เมตรทำเป็นผ้าห่ม เขาเรียกผ้าสังฆาฏิให้หลวงพ่อได้ ก็ใช้วิธีการโยน ทีนี้การโยน จะโยนข้างหน้า โยนข้างหลัง มันเป็นความเชื่อ ปัดทุกข์ปัดโศก ขอให้ประสบพบพ้นภัยก็ข้างหน้า หมดทุกข์หมดโศกก็ข้างหลัง พิธีกรรมในวันที่ 11 เราก็จะทำงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต คำว่าสมโภชองค์หลวงพ่อโตหมายความว่าไง เฉลิมฉลองเหรอ ไม่ใช่ ไม่ใช่เฉลิมฉลองอย่างเดียว แต่เป็นการทำบุญ อุทิศให้กับบรรพบุรุษผู้สร้าง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ พอทำบุญสุญทานเสร็จ ก็มีการแจกทุนการศึกษาให้กับเยาวชนอย่างที่ว่าไปเมื่อกี้นี้ ก็จะใช้งบประมาณปีหนึ่งก็สิบกว่าล้านนะ ที่ทำบุญให้หลวงพ่อโต อย่างเดือน 12 อย่างเจ้าแม่ที่ว่าเมื่อกี้ เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ก็ทำบุญให้เจ้าแม่ ก็คือถามว่าทำอะไรให้หลวงพ่อโต เราก็มีการทำบุญอุทิศให้กับคนก่อสร้าง แล้วก็มีในเรื่องของการรักษา มันก็เป็นความเชื่อที่แต่ละบุคคลเชื่อ แต่อาตมาพูดได้เลยว่าอาตมาเองประสบการณ์ตรงจากองค์หลวงพ่อ สามครั้ง แต่ว่าคนที่จะมาเคารพนับถือแล้วมาขอโดยจิตที่ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ ถามว่าประสบความสำเร็จไหมมันก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ถ้าเกิดจิตเราบริสุทธิ์ แล้วเรามุ่งที่จะทำ ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ถ้าจะประกอบอาชีพก็สัมมาอาชีพ จะประสบความสำเร็จได้ง่าย ไม่นาน อาตมาเองเกินสามครั้ง เป็นอย่างนั้นทั้งสามครั้ง คือเราไม่ได้บอกว่าขอให้ดลบันดานให้ในวันนั้นวันนี้ คือด้วยบุญ ด้วยกุศล ด้วยสิ่งที่เราทำ ปัญหาและอุปสรรค์จะค่อยๆละล้อละลองไปเอง แล้วสิ่งที่เราปรารถนาก็จะเข้ามาเอง ประมาณนี้ คือศักดิ์สิทธิ์มากเลยกลายเป็นที่เคารพนับถือ
Q: ปัจจัยมาจากไหน
A: ส่วนใหญ่วัดพนัญเชิง ถามว่าแล้วได้ปัจจัยมาจากไหน ก็ได้มาจากการที่สาธุชนทั่วไป ทั้งในประเทศต่างประเทศที่แวะเวียนเข้ามาไหว้หลวงพ่อ เขาทำบุญใส่ตู้บริจาคเอาไว้ เราก็เอาเงินนั้นมาจัดการบริหารทุกอย่าง อันไหนที่ควรจะต้องสร้าง อันไหนที่ควรจะต้องซ่อม อันไหนเพื่อการศึกษา เหลือแล้ว เห็นไหม มันจะมีเป็นส่วนๆ อันนี้พูดให้ฟังสี่ส่วนคร่าวๆ แล้วเงินมันเหลือแล้ว พอเหลือแล้วเราก็จะมาทำในเรื่องของการสาธารณะกุศล สาธารณะประโยชน์ อย่างเช่นสนับสนุนโรงพยาบาล โรงพยาบาลเขาต้องการ อย่างเมื่อสามสี่อาทิตย์ที่แล้วก็ เขามาของบประมาณในการซ่อม หกล้านห้าก็หกล้านห้า แล้วก็ช่วยไป ก็ยังมีก็หลวงพ่อก็แจกทุนการศึกษาให้กับนักเรียนตั้งแต่ประถมไปถึงปริญญาเลย ปีหนึ่งเมื่อปีกลายก็รู้สึกสิบกว่าล้าน เฉพาะค่า ทั้งหมดเลยนะ สิบสามล้าน 11 เมษา เขาทำบุญ ก็คือวัดคือดีอย่างที่อาตมาชอบก็คือ คือจะไม่เก็บเงินที่บรรดาญาติโยมทำบุญสุญทานไว้ เอาไว้ให้เป็นของวัด จะเอามากระจายกันบริหาร บริหารเสร็จแล้ว เหลือแล้วก็แจกทุนการศึกษา อย่างสมัยก่อน เมื่อกี้นี้เล่าให้ฟังว่าพ่อค้าประชาชนเขามาเทกระจาดใช่ไหม ส้มสุกลูกไม้มันเหลือจากการทำบุญใช่ไหม พระฉันท์ไม่หมดก็เอามาแจกประชาชน ไม่รู้จะแจกกันยังไง ก็เทกระจาด พอหลวงพ่อมาที่นี้ก็เลย เป็นการแจกข้าวสาร เพราะข้าวสารก็ได้มาจากประชาชน เขาเอามาบริจาคถุงละร้อย ก็ทำบุญถุงละร้อยๆ ถึงเวลาเราก็เอาเงินที่รวมมาทั้งหมดไปซื้อมาแล้วก็มาแจกให้กับประชาชนทั่วไป มันก็ยังเหลืออีก พอเหลืออีกแล้วทำไง ทีนี้ก็ไปโรงเรียน แจกอาหารกลางวัน ไปบ้านพักคนชรา ไปวัดที่อยู่กันดาร อย่างนี้เราก็แจกไปเมื่อวันที่ 12 พึ่งจัดเสร็จไปเมื่อวันที่ 12 อะไรอย่างนี้ มันก็คือจะมีการบริหารจัดการในเรื่องแบบนี้ ซึ่งเป็นวัดที่อาตมาว่าดีนะ ก็คือว่าไม่มีการเก็บไว้เป็นล้านๆเป็นห้าหกสิบล้าน แปดสิบล้าน เก้าสิบ ร้อยล้านอะไรอย่างนั้นมัน ไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม ก็คือท่านมีไรก็สร้างไป ซ่อมไรก็ซ่อมไป
Q: สิ่งที่ฝากสู่คนรุ่นหลัง
A: เราจะดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทยของเราไว้ได้อย่างไร ถ้าเรามัวลุ่มหลงกับประเพณี วัฒนธรรมของชาวต่างประเทศ จนลืมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทย มันน่าจะเก็บไว้บ้างไหม อะไรที่เป็นของไทย อะไรที่เป็นของต่างประเทศ ถ้าคืออาตมาพูดถึงเรื่องกาละและเทศะ เราจะใช้จะบริโภคของต่างประเทศตอนไหน ของไทยตอนไหน แล้วเราควรใช้อันไหนให้มันมากกว่ากัน ฝากลูกๆช่วยกันคิด คนรุ่นใหม่ช่วยกันคิดว่าเราจะยึดความเป็นไทยไว้ได้อย่างไร ตอนนี้อาตมากำลังกลัวว่าแม้แต่ภาษาไทย เด็กไทยสมัยนี้ก็อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สอนหนังสืออยู่ทุกวัน โดยเฉพาะคำควบกล้ำ คำควบกล้ำยังไม่ชัดเจนแล้วถ้าเกิดมัน คนไทยเราพูดภาษาไทยไม่ได้ เขียนภาษาไทยไม่ได้ แล้วจะเหลืออะไรเป็นความเป็นไทย มันจะเป็นแบบมอญไหม ขอโทษที่ต้องยกตัวอย่าง มีแต่คำว่าคนมอญ เคยมีประเทศมอญ ตอนนี้ประเทศมอญอยู่ตรงไหน ถูกพม่ากลืนไปหมดแล้วใช่ไหม เหลือแต่เป็นมอญ แล้วก็มอญที่แตกกระจายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยบ้าง อยู่ฝั่งนู้นบ้าง อนาคตไทยจะเป็นแบบมอญไหม ถ้าเรายังหลงระเริง หรือว่ายังเฟิร์สอยู่กับแฟชั่นตะวันตก แล้วทำไมไม่รณรงค์หรือไม่ให้ความสนใจ อะไรที่มันเป็นของคนไทยให้มันมากกว่านี้ แล้วทำไมแบบโอ้ย ไทยเหรอ(ส่ายหัว) นี่ๆของฉันแบรนด์นอก กุชชี่ อย่างดี ทำไมเราไม่มานิยมของเราบ้าง ถ้าอย่างรุ่นหนูจะถือกระเป๋าแบรนด์ใบละเป็นแสนของกุชชี่ ของที่เขาประกาศกัน ของอิตาลี งั้นลองมาถือเครื่องจักสานที่มันสวยๆหรูๆโอท็อปของไทย ถ้าวัยรุ่นหันมาแบบนี้ มาทำกันแบบนี้ ตะวันตกก็จะไม่มีอิทธิพล ใช่ไหม อะไรที่มันจำเป็นที่จะต้องใช้ของนอกบ้าง อย่างนี้เราไม่สามารถทำอย่างเขาได้อย่างนี้ก็โอเค เราไม่ว่ากัน น่าจะให้ความสนใจกับอะไรที่เป็นไทยๆมากกว่านี้

 สัมภาษณ์คุณวิศิษฏ์   วณิชย์สุวรรณ์
Q: มาวัดพนัญเชิงบ่อยไหม
A: ประมาณเดือนละสองครั้งสามครั้งครับ
Q: ทำไมเลือกมาวัดพนัญเชิง
A: เพราะพี่เป็นคนอยุธยา พี่มีโอกาสพี่ก็จะมาไหว้ท่าน ส่วนใหญ่จะไปบางวัด เป็นหนึ่งวัดที่พี่มาบ่อย
Q: แรงศรัทธาในวัดพนัญเชิง

A: ตั้งแต่สมัยอากง อาม่า คุณพ่อ คุณแม่แล้วครับ ก็นับถือที่ซำปอกงตลอด พี่ก็เลยแบบปลูกฝังว่าเวลามีอะไรพี่ก็จะมาไหว้ ขอพรท่าน

เอกสารอ้างอิง

พระสุธีกิจจาภรณ์. รองเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง. สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2559.


วิศิษฏ์   วณิชย์สุวรรณ์. สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2559.



Creative Commons LicenseThis work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น