ประวัติความเป็นมา

วัดพนัญเชิง
            ชื่อเสียงของวัด เกิดจากเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปขนาดใหญ่หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "องค์หลวงพ่อโต" หรือ "พระซำปอกง" ที่แปลว่าใหญ่โต รวมทั้งเป็นวัดที่เก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า เกิดจากเจ้าชายสายน้ำผึ้งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวจีน กษัตริย์จีนก็เห็นบุญญาธิการก็เลยยกพระนางสร้อยดอกหมากถวาย เมื่อเสด็จกลับมาถึงแล้ว พระองค์มารับช้า ตอนมาก็ไม่ได้มาด้วยพระองค์เองตอนมาถึงเชิญพระราชกิจมาตอนนั้น เสร็จแล้ว มันก็เลยเป็นสาเหตุให้พระนางทรงเสียพระทัย ทรงเข้าพระทัยผิด แล้วก็เสียพระทัยว่าไม่ให้เกียรติพระองค์ เมื่อไม่มารับเองก็ไม่ขึ้น พระนางก็เลยกลั้นตาย

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

             เจ้าชายสายน้ำผึ้งเห็นแบบนี้แล้วก็เกิดความประทับใจ สร้างวัดพนัญเชิงขึ้นเป็นอนุสรณ์สถานเมื่อพ.ศ. 1867 หมายความว่าวัดนี้เกิดขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยานานถึง 16 ปี ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเมืองอยุธยาไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเลื่อนลอย แต่พัฒนามาจากชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งบริเวณที่ตั้งวัดอยู่ริมน้ำตรงที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสักมาประจบกัน เรียกว่าบางกะจะ ซึ่งในยุคนั้นเป็นท่าเรือสำคัญและเป็นชุมชนใหญ่ของชาวจีนซึ่งมั่งคั่งจากการค้าขายทางเรือสำเภา จึงมีกำลังมาบูรณะวัดจนใหญ่โต งานศิลปะหลายอย่างในวัดก็เป็นรูปแบบจีนด้วย


เทพเจ้าจีน
                       
จิตรกรรมฝาผนัง


ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก
               ดอกหมาก ตามตำนานเล่าว่าพระนางสร้อยดอกหมากเป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงจีน ซึ่งได้มาอภิเษกสมรสกับเจ้าชายสายน้ำผึ้งแห่งเมืองอโยธยา มีความเชื่อที่สืบทอดกันมานานคือ การมาขอพรจากเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก หากมาด้วยจิตศรัทธา สิ่งที่ขอนั้นจะเป็นจริง และหากชายใดได้ดูหมิ่นผู้หญิงต่อหน้าศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ว่ากันว่าจะทำให้ชายคนนั้นเป็นหมัน


ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก



 เอกสารอ้างอิง
วัดโบราณในพระนครศรีอยุธยา.  [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก :  watboran.wordpress.com/(วันที่ค้นข้อมูล : 17       
ตุลาคม 2559).

ศิริศักดิ์  คุ้มรักษา. วัดและวังในกรุงเก่า.  พิมพ์ครั้งแรก.  กรุงเทพมหานคร :
       แปลน โมทิฟ, 2546.
                           
ส.  พลายน้อย.  เรื่องเล่าชาวกรุงเก่า.  พิมพ์ครั้งแรก.  กรุงเทพมหานคร :
       สถาพรบุ๊คส์, 2537.


Creative Commons LicenseThis work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น