จุดเด่นของวัด

            หลวงพ่อโต เชื่อว่าไม่มีชาวอยุธยาคนไหนไม่รู้จัก หลวงพ่อโตเป็นชื่อเรียกพระพุทธรุปปั้นปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 20.17 เมตร สูง 19 เมตร ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชาวจีนเรียกว่าหลวงพ่อซำปอกง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนายก" เป็นศิลปะแบบอู่ทองสมัยปลาย คือพระพักตรสี่เหลี่ยม พระนาสิกบาน ขอบกระบังหน้าใต้พระศกเส้นบรรจบแหลมย้อยลงมาเล็กน้อย เส้นพระศกขมวดเป็นยอดแหลม และมีพระอุณาโลมใหญ่กลางพระนลาฏ ในหนังสือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" กล่าวว่าก่อนเสียกรุงครั้งที่สองนั้น หลวงพ่อโตมีน้ำพระเนตรหลั่งออกมาทั้งสองข้าง อันเป็นลางบอกเหตุร้าย

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

            วัดพนัญเชิงจะมีพิธีกรรมหนึ่ง ที่เรียกว่าห่มผ้าหลวงพ่อโต ผู้ที่มาทำบุญที่วัดก็มักจะเข้าร่วมพิธีกรรมนี้ นอกจากนั้นยังมีประเพณีทิ้งกระจาด เป็นประเพณีที่ใหญ่ที่สุดประเพณีหนึ่งของอยุธยา จัดทุกปี ในช่วงปลายเดือน 7 ของจีน (ซึ่งตรงกับเดือน 9 ของไทย หรือราวเดือนสิงหาคม) ชาวจีนนับถือว่าเป็นงานทำบุญให้กับผีไม่มีญาติ ในงานจะมีการโปรยทานเป็นข้าวของเครื่องใช้ห้แก่คนยากซึ่งมีผู้คนมากมายพากันมารับของบริจาคและมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองอุทิศให้ผีทั้งหลาย

ผ้าที่ใช้ห่มองค์หลวงพ่อโต

            ภายในวิหารหลวงพ่อโตทั้งสี่ด้าน เหนือหน้าต่างจะเจาะเป็นช่องเล็กๆ ยอดแหลมเรียงกัน 12 แถว แต่ละแถวมี 39 ช่อง เป็นช่องไว้พระพุทธรูป ช่องแบบนี้จะพบได้อีกทีคือตามกำแพงแก้วหรือกำแพงวังอย่างที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี ซึ่งน่าจะทำไว้สำหรับตั้งตะเกียงหรือตามไฟเวลามีงานเฉลิมฉลอง การเจาะช่องเป็นคติการสร้างผนังอาคารที่เริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งอยู่ในยุคอยุธยาตอนปลาย

ช่องใส่พระพุทธรูป
             พระทองพระนาก มีพุุทธลักษณะงดงามมาก ประดิษฐานอยู่หน้าโบสถ์หน้าวิหารหลวงพ่อโต เมื่อเข้าไปจะเห็นพระพุทธรูปเรียงกันเป็นประธานของโบถส์รวมสามองค์ องค์ซ้ายเป็นพระพุทธรูปทองสมัยสุโขทัย ทำด้วยทองสำริด หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก องค์กลางเป็นพระปูนปั้นสมัยอยุธยา ส่วนองค์ขวามือเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยทำด้วยนาก หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 5 ศอก

พระทองพระนาก



ผสมผสานทั้งจีนและไทย



ทำบุญให้อาหารปลา



เอกสารอ้างอิง
ตำนานวัดพนัญเชิงเรื่องราวความรักที่น่าเศร้า.  [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : travel.kapook.com/view12028.html  (วันที่ค้นข้อมูล : 17       
ตุลาคม 2559).

ปรีดี  พิศภูมิวิถี.  คู่มือท่องเที่ยวอยุธยาเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  เชียงใหม่ :
       ล็อคอิน ดีไซน์เวิร์ค, 2552.  

วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.อยุธยา.  [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : thailandtemples.org/watphananchoeng/index.html  (วันที่ค้นข้อมูล : 17       
ตุลาคม 2559).



Creative Commons LicenseThis work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น